องค์ประกอบของเรื่อง
๑.สาระ แก่นสำคัญของลิลิตตะเลงพ่าย คือ การยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในด้านพระปรีชาสามารถทางการรบ โดยการกระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีและได้รับชัยชนะอย่างงดงาม นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบแล้ว ผู้แต่งยังได้เน้นพระปรีชาสามารถในด้านการปกครองและพระจริยวัตรอันกอปรด้วยทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ สังคหวัตถุ ๔ ประการ และพระจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ
๒.โครงเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อกาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง “ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา
๓.ตัวละคร
๒.โครงเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อกาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง “ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา
๓.ตัวละคร
สมเด็จพระนเรศวร
๑) มีความเป็นนักปกครองที่ดี ทรงเลือกใช้คนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิรวมถึงทรงปรับปรุงตำราพิชัยสงครามจากของเดิมให้เหมาะสม และรัดกุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จากบทประพันธ์บางตอนยังแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นนักปกครองที่พร้อมรับฟังความเห็นของขุนนางและข้าราชบริพาร ดังบทประพันธ์นี้
แถลงลักษณะปางบรรพ์ มาเทียบ ถวายแฮ
แนะที่ควรเสด็จค้า เศิกไซร้ไกลกรุง
๒) มีความเป็นนักรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นนักรบที่แท้จริง เพราะทรงรอบรู้เรื่องกระบวนศึก การจัดทัพ การเคลื่อนทัพ การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงครามที่สำคัญคือ พระองค์มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นเกรงต่อข้าศึก แม้จะอยู่ในลักษณะเสียเปรียบก็ไม่เกรงกลัว แต่กลับใช้บุคลิกภาพอันกล้าหาญของพระองค์เผชิญกับข้าศึกด้วยพระทัยที่มั่นคงเข้มแข็ง ดังตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพพม่ามอญ
สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า ขับคเซนทร์บ่ายหน้า
แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา
ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤาเศร้า
สู่เสี้ยนไป่หนี หน้านา
ไพรีเร่งสาดซ้อง โซรมปืนไฟไป่ต้อง
ตื่นเต้นแตกฉาน ผ้านนา
๓) มีพระปรีชาญาณ คือ ความฉลาด รอบรู้ มีไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระปรีชาญาณในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทำศึกสงครามพระองค์ทรงสุขุม รอบคอบ ทำการศึกโดยไม่วู่วามขาดสติ ทรงพิจารณาอุบายกลศึกด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง ตอนที่แสดงให้เห็นความมีพระปรีชาญาณของพระองค์ เช่น ตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก พระองค์ทรงเห็นนายทัพฝั่งตรงข้ามที่ขี่ช้างมีฉัตรกั้นถึงสิบหกเชือก ยากที่จะแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร แต่ด้วยพระปรีชาญาณและช่างสังเกตก็เห็นนายทัพคนหนึ่งขี่ช้างมีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มไม้ข่อย มีพลทหารสี่เหล่าเรียงรายอยู่จำนวนมากจึงคาดว่านายทัพคนนั้นคือ พระมหาอุปราชาแน่นอน จึงตรงเข้าไปทรงท้าพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถีด้วยวาจาสุภาพ อ่อนโยนและให้เกียรติ ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาญาณและไหวพริบของพระองค์อย่างดียิ่ง ดังตัวอย่าง
ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ นักโน้น
ทวนทัพเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ
ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง
ทั้งมวลหมู่มาตย์ซ้อง สารพลัน
ทูลพระจอมจรรโลง เลื่องหล้าแถลงลักษณะปางบรรพ์ มาเทียบ ถวายแฮ
แนะที่ควรเสด็จค้า เศิกไซร้ไกลกรุง
๒) มีความเป็นนักรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นนักรบที่แท้จริง เพราะทรงรอบรู้เรื่องกระบวนศึก การจัดทัพ การเคลื่อนทัพ การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงครามที่สำคัญคือ พระองค์มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นเกรงต่อข้าศึก แม้จะอยู่ในลักษณะเสียเปรียบก็ไม่เกรงกลัว แต่กลับใช้บุคลิกภาพอันกล้าหาญของพระองค์เผชิญกับข้าศึกด้วยพระทัยที่มั่นคงเข้มแข็ง ดังตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพพม่ามอญ
สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า ขับคเซนทร์บ่ายหน้า
แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา
ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤาเศร้า
สู่เสี้ยนไป่หนี หน้านา
ไพรีเร่งสาดซ้อง โซรมปืนไฟไป่ต้อง
ตื่นเต้นแตกฉาน ผ้านนา
๓) มีพระปรีชาญาณ คือ ความฉลาด รอบรู้ มีไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระปรีชาญาณในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทำศึกสงครามพระองค์ทรงสุขุม รอบคอบ ทำการศึกโดยไม่วู่วามขาดสติ ทรงพิจารณาอุบายกลศึกด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง ตอนที่แสดงให้เห็นความมีพระปรีชาญาณของพระองค์ เช่น ตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก พระองค์ทรงเห็นนายทัพฝั่งตรงข้ามที่ขี่ช้างมีฉัตรกั้นถึงสิบหกเชือก ยากที่จะแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร แต่ด้วยพระปรีชาญาณและช่างสังเกตก็เห็นนายทัพคนหนึ่งขี่ช้างมีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มไม้ข่อย มีพลทหารสี่เหล่าเรียงรายอยู่จำนวนมากจึงคาดว่านายทัพคนนั้นคือ พระมหาอุปราชาแน่นอน จึงตรงเข้าไปทรงท้าพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถีด้วยวาจาสุภาพ อ่อนโยนและให้เกียรติ ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาญาณและไหวพริบของพระองค์อย่างดียิ่ง ดังตัวอย่าง
ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ นักโน้น
ทวนทัพเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ
ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น